ปราสาทหินในไทย

ปักหมุด 5 ปราสาทหินในไทย พาไปชมอารายธรรมขอมโบราณ สุดอลังการ

ปราสาทหินในไทย ย้อนกลับไปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาณาจักรขอมได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมไปยังบริเวณใกล้เคียง แม้เวลาจะผ่านไปนาน แต่ร่องรอยอารยธรรมโบราณยังคงมีให้เห็นและศึกษาเรียนรู้ได้เสมอ นี่คือ 5 ปราสาทหินขอมโบราณในประเทศไทย ที่มีความงดงามและน่าสนใจ เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งควรค่าแก่การเยี่ยมชม เพื่อสัมผัสความงามของศิลปะขอมโบราณและเรื่องราวที่น่าค้นหาครับ

ปราสาทหินในไทย

เมื่อเอ่ยถึง ปราสาทหิน หลายคนอาจนึกถึงจังหวัดในภาคอีสานเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริง จังหวัดสระแก้วซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของไทยก็มี ปราสาทสด๊กก๊อกธม ปราสาทหินที่มีศิลปะขอมโบราณ สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ในยุคพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 โดยใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในลัทธิศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชาเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังเป็น ปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกอีกด้วย

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองเสม็ด หมู่ 3 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

ปราสาทหินในไทย

หลายคนอาจจะรู้จักกับปราสาทหินพิมาย ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่นี่เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 สถาปัตยกรรมที่นี่มีลักษณะเป็นแบบบาปวน ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และโลกมนุษย์ หากสังเกตให้ดี จะเห็นว่าแผนผังของปราสาทหินพิมายมีลักษณะคล้ายกับเขาพระสุเมรุ โดยที่องค์ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางของเทวสถานนี้

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย แบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ได้แก่ โซนของโบราณสถาน และโซนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยในส่วนของโบราณสถานจะมี สะพานนาคราช ตั้งอยู่ที่ทางเข้าสำหรับผู้เข้าชม ก่อนที่จะถึง ซุ้มประตู กำแพงแก้ว ระเบียงคด ปราสาทประธาน ปรางค์พรหมทัต บรรณาลัย และ พลับพลาที่ประทับเบื้องเครื่อง ในส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จะมีการจัดแสดงและเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงชิ้นงานล้ำค่าที่มีอายุนับพันปี ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าชมและเรียนรู้ได้ครับ

สถานที่ตั้ง : ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ปราสาทหินในไทย

กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (ช่องเขาตาเมียง) ในจังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มปราสาทที่รวมปราสาทหินทั้งหมด 3 หลัง ซึ่งจัดเรียงตามลำดับขนาดจากใหญ่ไปเล็ก ได้แก่ ปราสาทเมือนธม, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, ปราสามตาเมือน (บายกรีม)

สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ตั้งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดยปราสาทตาเมือนธมถือเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นสถานที่บูชาของศาสนาฮินดูในลัทธิไศวนิกาย ซึ่งเคารพพระศิวะในฐานะเทพเจ้าสูงสุด

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองคันนา  ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ปราสาทหินในไทย

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทพนมรุ้ง เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าตื่นตาตื่นใจเมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านประตูทั้ง 15 บาน ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยมีความเชื่อกันว่าปรากฏการณ์นี้จะนำมาซึ่งพลังชีวิตและความโชคดีให้กับผู้ที่ได้สัมผัสครับ

ปราสาทพนมรุ้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สถานที่แห่งนี้มีการก่อสร้างและปรับปรุงหลายครั้งตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยหนึ่งในสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรม อาทิ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถชื่นชมความงามของศิลปะขอมโบราณได้อย่างเต็มอิ่ม

สถานที่ตั้ง : บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทหินในไทย

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ถือเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่และครบถ้วนที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 โดยเป็นเทวาลัยที่มีลักษณะโดดเด่นด้วยปรางค์จำนวน 3 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ซึ่งเรียงตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีทับหลังที่แสดงภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราช

ในภาพนั้น พระนารายณ์และสตรี 5 คนที่นั่งอยู่ที่ปลายพระบาท ซึ่งมีการคาดเดาว่าหนึ่งในนั้นอาจเป็นพระลักษมี พระมเหสีของพระนารายณ์ งานศิลปะนี้มีความงดงามและไม่สามารถพบเห็นได้จากที่อื่น ทำให้ปราสาทแห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยิ่ง

สถานที่ตั้ง : ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

และนี่คือ 5 ปราสาทหินในไทย รูปแบบสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในประเทศไทยครับ และยังมีปราสาทหินโบราณแบบนี้อยู่อีกเป็นจำนวนมากในบ้านเราครับ ซึ่งเราจะมานำเสนอกันอีกครั้งในบทความต่อๆไปครับ สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวไหว้พระที่ไหน รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Table of Contents

On Key

Related Posts