วันนี้พาเพื่อนๆมาไหว้ขอพรพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทยที่ประดิษฐาน วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ประมาณ 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างและผู้สร้าง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์ ล็อตโต้สด ทราบมาว่าตามคำบอกเล่านั้น ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
ข้อมูลประวัติ วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
ความเป็นมาของวัดป่าโมกวรวิหาร วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย เดิมทีเป็นวัดสองวัดที่ตั้งอยู่ติดกัน คือ “วัดชีปะขาว” และ “วัดตลาด” แต่เนื่องจากกระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามจัดการชะลอองค์ลากพระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะให้ห่างจากแม่น้ำ นำองค์พระไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาว เป็นวัดเดียวกันและพระราชทานนามว่า วัดป่าโมก ในพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราช ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะบูชาพระพุทธไสยาสน์องค์นี้
ความน่าอัศจรรย์ของพระพุทธไสยาสน์
ประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์ของวัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองราว 18 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทององค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัย เล่าขานกันมาว่าได้ลอยน้ำมาจม อยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวง แล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ และยังมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับองค์พระพุทธไสยาสน์ ว่าเป็นพระพุทธรูปพูดได้โดยมีการจารึก โดยผู้บันทึกก็ คือ พระครูปาโมกข์มุนีเจ้าอาวาสวัดป่าโมก พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีขนาดใหญ่โตและงดงามมาก มีความเก่าแก่คู่กันมากับวัด
ตำนานเรื่องพระนอนพูดได้ที่วัดป่าโมกวรวิหาร
เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์โรคร้ายระบาดอย่างหนัก รักษากันไม่ทัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของพระครูป่าโมกขมุนี เจ้าอาวาสในสมัยนั้นบันทึกไว้พอสรุปได้ว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2448 “พระโต” เป็นพระในวัดป่าโมกป่วยหนักด้วยโรคอหิวาต์ หาหมอที่ไหนก็รักษาไม่หาย ในขณะนั้นอำแดงเหลียนหลานสาวของพระโต ซึ่งอยู่ที่บ้านเอกราชแขวงป่าโมก ก็จนปัญญาจะไปหาหมอยามารักษาพระโต อำแดงเหลียนจึงมาตั้งสัตยาธิษฐานต่อพระพุทธไสยาสน์ แลได้มีเสียงออกมาจากพระอุระของพระพุทธไสยาสน์ ได้บอกตำรายาแก่อำแดงเหลียน หลังจากนั้นจึงนำใบไม้ต่างๆที่ว่า หามาเป็นยาต้มให้พระโตที่อาพาธฉัน จากนั้นพระโตก็หายเป็นปกติ
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก
จากการที่ lottosod ศึกษามา วิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย รูปทรงหลังคาเป็นฐานวิหารอ่อนโค้งรูปสำเภา หลังคาลด 2 ชั้น ต่อด้วยปีกนกด้านละ 2 แถบ มี 9 ห้อง เจาะช่องหน้าต่างด้านละ 7 บาน ด้านหน้าเจาะเป็นประตู ทางเข้าประตูเขียนลายรดน้ำลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ก้านแย่งยอด ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระอุโบสถมีขนาด 5 ห้อง หลังคาลดหลั่น 2 ชั้น หน้าพระอุโบสถใต้หน้าบันมีหลังคาคลุมแบบจั่นหับ มีประตูทางเข้า 2 ประตูหน้าต่างด้านละ 3 บาน มีการเขียนลายรดน้ำ ใบเสมาเป็นของเก่าเป็นหินชนวนในสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่บนฐานดอกบัวและฐานสิงห์ ภายในวิหารเขียนมีขนาด 7 ห้อง หลังคาลด 2 ชั้น ใต้หน้าบันด้านหน้าปิดผนังทึบมีเสาแบนหรือเสาอิง 2 ตัน มีหลังคาคลุมลดลงมารองรับด้วยเสา 4 ต้น สันนิษฐานว่าเดิมเป็นตำหนักที่ประทับของพระเจ้าท้ายสระ
ชมความสวยงามของพระวิหาร วัดป่าโมก
หากท่านเดินเข้ามาด้านในบริเวณวิหาร จะมีจุดไหว้สักการะรูปจำลองพระพุทธไสยาสน์อยู่ สามารถร่วมบุญ ดอกไม้ ธูป เทียน ทอง มาเพื่อไหว้สักการะก่อนได้ (เพื่อนๆสามารถถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาไว้ที่บริเวณด้านหน้าวิหาร ส่วนแผ่นทองให้ไปปิดที่พระพุทธไสยาสน์ด้านใน) ซึ่งจะมีบทบูชาพระพุทธไสยาสน์ตามป้ายด้านหน้ารูปจำลอง และถ้าหากใครพาผู้สูงอายุมา ก็สามารถใช้เก้าอี้นั่งสวดบูชาพระได้ เมื่อไหว้พระด้านหน้าเสร็จแล้ว ไปปิดทองบูชาพระพุทธไสยาสน์ด้านในวิหาร ชมความสวยงาม ด้านในวิหารจะมีภาพวาดการเคลื่อนย้ายพระพุทธไสยาสน์ จากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามายังวัดป่าโมก ที่ดูแล้วได้เห็นถึงความสามัคคี การร่วมแรงรวมใจกันของชาวบ้าน และส่วนต่างๆที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
การเดินทางไปยัง วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
สำหรับเพื่อนๆหรือใครที่อยากเดินทางมาไหว้พระนอน สักการะขอพรพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่โตสาวยงาม การมาวันป่าโมกก็ไม่ยาก หากมาจากกรุงเทพฯ ก็สามารถมาได้หลายเส้นทาง มาถึงเขตอำเภอเมืองอ่างทอง ให้ขับต่อไปอีก 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 สายอ่างทอง-อยุธยา ถึงกิโลเมตรที่ 40 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 329 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3501 จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก ก็เลี้ยวเข้าไปได้เลย
และนอกเหนือจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจกันว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย หอไตร ให้ได้ชมความงดงาม และมีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก คือ ขึ้น 14 – 15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ เดือน 4 และอีกช่วงหนึ่งระหว่างขึ้น 12 – 15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ใครอยู่ใกล้ๆ lottosod888 แนะนำให้แวะมาเที่ยวชมกันได้ “สวัสดี”
หากท่านสนใจเป็นสมาชิกกับเราแค่เพียง คลิก สมัครสมาชิกหวยสด แค่ไม่กี่ขั้นตอนท่านก็สามารถรับทราบข่าวสารและสาระดี ๆ ได้ทุกวัน