Title_Wat Phra Thaen Sila At, Uttaradit-01

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ “บ้วนพระโอษฐ์พระพุทธเจ้า” ประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม

ล็อตโต้สด ตะลอนเที่ยววัดวันนี้ จะพาเพื่อนๆมาวัดทางภาคเหนือกันบ้าง วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่แห่งเมืองลับแล วัดที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า “วัดพระแท่น” เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาย่อมๆ ชาวบ้านเรียกว่า “เขาทอง” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชนโบราณเมืองทุ่งยั้ง บริเวณวัดร่มรื่นไปด้วยต้นไม้มากมาย แยกเป็นสัดส่วนสงบร่มเย็น สมกับเป็นวัดเก่าแก่ ด้านในวิหารมีพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งประดิษฐานอยู่ตรงกลาง เชื่อว่าเป็นที่เจริญภาวนาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีหลักฐานเกี่ยวข้องปรากฏ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ เดิมชื่อว่า “วัดมหาธาตุ” ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่าหรือเขาทอง บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกัน ไม่มีปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือสร้างแต่เมื่อใด ปัจจุบันวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดธรรมยุตินิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2549 วัดพระแท่นเป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีสิ่งที่น่าสนใจดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์ เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ฟุต ยาว 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัวสวงงามมาก

ปูชนียวัตถุสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

ความสำคัญของพระแท่นศิลาอาสน์ต่อชาวอุตรดิตถ์

เป็นพระอารามหลวง เป็นที่ประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ ปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป ปัจจุบันทางจังหวัดได้นำพระแท่นศิลาอาสน์ ไปประดิษฐานไว้ในตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระแท่นศิลาอาสน์ได้เป็นอย่างดี วัดนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ในจารึกของกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งจะมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งที่พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ.2283 แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์มีมาก่อนหน้านี้แล้ว

ลักษณะของพระแท่นศิลาอาสน์

เท่าที่ lottosod รู้มาเชื่อกันว่าพระแท่นที่วัดนี้ เป็นที่ประทับนั่งบำเพ็ญพระบารมี เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จและจะได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8 ฟุต ยาวประมาณ 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ มีพระมณฑป ศิลปะเชียงแสนครอบ อยู่ภายในพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพระแท่นศิลาอาสน์

ริเริ่มโครงการโดยพระเฉลิมศิลป์ ชยเปาโล พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภายในวัดพระแท่นศิลาอาสน์ บริเวณทางเข้าจะประดับด้วยไม้ดอกไม้สวนสมุนไพร และรถพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ ดัดแปลงมาจากรถกระบะ ตกแต่งดึงดูดความสนใจจากคนที่ผ่านไปผ่านมา ภายในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ (เดิมเป็นศาลาการเปรียญเก่า) ตกแต่งแบบล้านนา ชั้นล่างมีการจัดแสดงภาพเขียน ภาพถ่ายในอดีตของวัด มีชุดและผ้าไทยโบราณจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าจากชุมชน ชั้นสองมีการจัดแสดงพระพุทธรูปเก่าแก่ พระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำแบบโบราณ อุปกรณ์เครื่องครัว ถ้วย ชาม หม้อ ไห มีด เครื่องจักสาน อุปกรณ์ทำมาหากิน และการละเล่นต่าง ๆ ให้ได้ชม

เรื่องเล่าขานตำนานพระแท่นศิลาอาสน์

หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระอรหันต์ 500 องค์ ได้เสด็จมาเทสนาสั่งสอนผู้คนในภูมิภาคนี้ และได้เสด็จมาประทับยับยั้งที่เนินเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง ภายหลังจึงเรียกเมืองนั้นว่าเมืองทุ่งยั้ง เจ้าอายลูกนายไทย ประกาศให้ชาวเมือง นำเต้าแตงถั่วงาปลาอาหารมาถวาย พระพุทธเจ้าจึงได้เทสนาสั่งสอน พระอานนท์ได้นำบาตรพระพุทธเจ้าไปแขวนห้อยไว้บนต้นพุทรา ภายหลังเรียกว่า ต้นพุทราแขวนบาตร และพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำภัตตกิจบนแท่นศิลาที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์เคยนั่งบำเพ็ญบารมี ภายหลังเรียกว่า พระแท่นศิลาอาสน์

บ้วนพระโอษฐ์ ที่ถูกลืม

บ้วนพระโอษฐ์พระพุทธเจ้า ที่ถูกลืม

พระพุทธเจ้าทรงกระทำภัตตกิจ บนแท่นศิลาที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์เคยนั่งบำเพ็ญบารมี เมื่อเสร็จแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะมีมหายักษ์ผู้หนึ่งนำน้ำใส่คนโทแก้วมาถวาย แต่เดินไม่ระวังจึงเหยียบมดง่ามตายไป 4 ตัว พระองค์จึงตรัสให้ศีลแก่มหายักษ์ จนเกิดความเลื่อมใส ได้ถอดเขี้ยวแก้วถวายและลากลับไป พระองค์ตรัสพระอานนท์ว่า ภายหลังที่พระองค์ปรินิพพานไปได้ 2,000 ปี มดง่ามทั้ง 4 นี้จะได้กลับมาเกิดเป็นกษัตริย์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป แล้วทรงบ้วนพระโอษฐ์ใส่กระโถนศิลาแลงข้างพระแท่น ภายหลังเรียกว่า บ้วนพระโอษฐ์ จากการค้นคว้าของอาจารย์ธีระวัฒน์ แสนคำ พบว่าเดิมวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ มีมุขยื่นออกมาจากตัววิหารด้านทิศเหนือ เรียกว่า “มุขบ้วนพระโอษฐ์” ประดิษฐานบ้วนพระโอษฐ์ไว้ที่นั้น ภายหลังวิหารไฟไหม้ ในปีพ.ศ. 2451 ช่างที่บูรณะได้ตัดส่วนมุขบ้วนพระโอษฐ์นี้ไปเสีย ปัจจุบันบ้วนพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าถูกทิ้งไว้ข้างๆ ซุ้มประตูพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพระแท่นศิลาอาสน์

ปัจจุบันพระแท่นศิลาอาสน์ กลายเป็นปูชนียสถานที่ สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ในขณะที่ “บ้วนพระโอษฐ์พระพุทธเจ้า” ที่มีความสำคัญคู่กับพระแท่นมา แต่กลับถูกลืมเลือน เป็นสิ่งที่ควรแก่การสักการบูชา อันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า ที่บรรพชนได้สร้างขึ้นเพื่อเป็น “อุเทสิกเจดีย์” สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศต่อพระพุทธเจ้า แต่วันนี้กลับถูกรุ่นหลังย้ายมาวางไว้ในที่ ที่ไม่ควรจะอยู่ พุทธศาสนิกชนชาวอุตรดิตถ์ควรทำเช่นไร หรือจะรอให้กลายเป็นกระถางปลูกต้นไม้ประดับอารามหลวงแห่งนี้

Lottosod888 แนะนำว่าสายมูเตรูทั้งหลายห้ามพลาดโดยเด็ดขาด วัดนี้เป็นอีกการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ที่นอกจากจะอิ่มบุญ แล้วยังได้ความรู้ เรื่องราวประวัติศาสตร์ มีรูปสวยๆ กลับมาอย่างประทับใจอย่างแน่นอน “สวัสดี”

หากท่านสนใจเป็นสมาชิกกับเราแค่เพียง คลิก สมัครสมาชิกหวยสด แค่ไม่กี่ขั้นตอนท่านก็สามารถรับทราบข่าวสารและสาระดี ๆ ได้ทุกวัน

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Table of Contents

On Key

Related Posts