เจ้าแม่กวนอิม เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ หรือเทพเจ้าที่คนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนต่างนับถือมากที่สุด โดยท่านนั้นถือได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีจิตใจเมตตาต่อชาวโลกตามหลักของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเชื่อว่าตามตำนานประวัติของเจ้าแม่ กวนอิม มีความเกี่ยวข้องกับความทุกข์ยากของคนสมัยก่อนที่พบเจอกับภาวะภัยสงครามอย่างยาวนาน และการได้นับถือพระโพธิสัตว์ต่างๆ จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจยามเผชิญทุกข์ยาก และวันนี้ เว็บหวยสด เราจะพาทุกคนมาเปิดประวัติความเป็นมาเจ้าแม่กวนอิม และสถานที่สักการะบูชา จะเป็นอย่างไรตามเรามาดูกันเลย
ทำความรู้จักกับ เจ้าแม่กวนอิม
คำว่า กวนอิม หมายถึง “การสังเกตเสียงของโลก” โดยในศาสนาพุทธของจีน นั้นกวนอิมมีความหมายเหมือนกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นจุดสูงสุดของความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจ รวมถึงในเรื่องของความรัก ซึ่งในประเทศจีนนั้น ได้เริ่มมีความเลื่อมใสในพระโพธิสัตว์กวนอิมตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 1 และนอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ในประเทศจีน ก่อนราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)
โดยก่อนที่จะมาเป็นเจ้าแม่ กวนอิม ร่างสตรี ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ในสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียสู่จีน ได้มีรูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ซึ่งเป็นภาพของพระโพธิสัตว์ เพศชาย เช่นเดียวกับในอินเดีย และเนื่องจากการแสดงแทนพระโพธิสัตว์ทั้งหมดเป็นเพศชาย โดยมีหลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกาเป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ กวนอิม) ที่ได้มีการปรากฎรูปลักษณะเป็นเพศชาย ที่มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา ส่วนที่เราเห็นรูปลักษณ์เป็นหญิงในปัจจุบันนั่น หากกล่าวตามหลักสัทธรรมปุณฑรีกสูตรท่านมีพลังวิเศษ ที่จะแปลงร่างในรูปแบบใด ๆ ก็ได้ที่จำเป็นในการบรรเทาทุกข์ อีกทั้งตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน กล่าวว่า เพศไม่ใช่อุปสรรคต่อการตรัสรู้ โดยนักประติมานวิทยาสันนิษฐานเหตุผลของการแปลงกายจากชายเป็นหญิงไว้ 2 ประการว่า
- พระโพธิสัตว์ กวนอิม เป็นผู้ที่มีความโปรดสัตว์โลกและช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งในสมัยโบราณนั้นผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงมีการปรากฎภาพลักษณ์พระโพธิสัตว์กวนอิมในด้านที่เป็นเพศหญิง
- ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา ที่มีความเมตตาต่อบุตร
ประวัติเจ้าแม่ กวนอิม ในตำนานจีน
มีตำนานกล่าวว่า เดิม เจ้าแม่ กวนอิม นั้นเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ และในชาติสุดท้ายจึงจุติลงมายังโลกมนุษย์ นามว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์แห่งอาณาจักรซิงหลิง นามว่า พระเจ้าเมี่ยวจวง เจ้าหญิงเป็นพุทธมามกะ และได้ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะบำเพ็ญภาวนาเพื่อหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ซึ่งพระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วยและได้มีการบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านก็ยังไม่สนใจจึงถูกพระเจ้าเมี่ยวจวงขัดขวางและทรมานหวังให้เปลี่ยนใจ ปละเมื่อได้ได้ตามที่พระเจ้าเมี่ยวจางตั้งใจไว้ จึงพยายามหาทางฆ่า แต่ด้วยบุญญาบารมีของเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน จึงได้มีการปรากฏเสือเทวดาตัวหนึ่งนำเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ซึ่งต่อมาสามารถบรรลุธรรมได้ในที่สุด และพระเจ้าเมี่ยวจงก็ได้รับบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ ส่งผลให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคร้ายแรง ที่ไม่สามารถรักษาได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจึงได้กลับมาสละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้ายด้วยความกตัญญู ซึ่งภายหลังเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านสำเร็จอรหันต์ได้ดวงตาและพระกรคืน และแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ
โดยชาวจีนที่มีความนับถือเจ้าแม่ กวนอิม เป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในนิกายมหายาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตาต่อมวลมนุษย์ สมัยราชวงศ์ฮั่น และซ่ง สร้างรูปปั้นเจ้าแม่ กวนอิมตามแบบอินเดีย ที่ไม่มีเพศ ต่อมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน พบหลักฐานการสร้างรูปปั้นพระโพธิสัตว์เป็นสตรีเพื่อความอ่อนโยน แสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่มารดาแสดงต่อบุตร คาดว่าเป็นการออกแบบจากผู้อพยพจากอินเดียมาอยู่ในประเทศจีน เพื่อแสดงออกถึงการระลึกถึงบ้านเกิดที่ห่างไกล
รวมสถานที่สักการะเจ้าแม่ กวนอิม
โดยในประเทศไทยนั้นได้มีศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปเคารพ เจ้าแม่ กวนอิม ที่เป็นความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่หลายแห่ง อย่าเช่นศาลเจ้าแม่ กวนอิม ที่ตั้งอยูในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
- ศาลเจ้า กวนอิมเนี้ย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่ กวนอิม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
- วิหารเจ้าแม่ กวนอิม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่ กวนอิม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่ กวนอิม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
- พระโพธิสัตว์ กวนอิม อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
- วิหารพระแม่ กวนอิม อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
- เจ้าแม่ กวนอิมองค์ยืน อ.สามพราน จ.นครปฐม
- ศาลเจ้า แม่กวนอิม เขตบางกอกน้อย จ.นครปฐม
- ศาลเจ้า แม่กวนอิม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
- มูลนิธิพระมหามงคลพุทธนิมิตอวโลกิเตศวร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นอย่างไรบ้างกับประวัติความเป็นมา เจ้าแม่ กวนอิม ซึ่งได้ทรงถือเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ซึ่งยังคงประทับอยู่กลางใจของผู้คนที่ศรัทธามาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และมีความเชื่ออีกอย่างนั่รนก็คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิม จะไม่กินเนื้อวัว ในช่วงเทศกาลกินเจ และบางคนก็งดเนื้อวัวตลอดชีวิต และงดถวายอาหารที่มีเนื้อสัตว์ต่อท่าน เพราะเชื่อกันว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีความเมตตากรุณา โปรดสัตว์ และละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด เราต้องขอตัวลาไปก่อน กลับมาพบกันได้ใหม่ในบทความหน้า