เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

ทำความรู้จัก เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ หรือ เทศกาลคเณศจตุรถี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

ช่วงวันที่ 7 กันยายน 2567 ถือว่าเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งของชาวฮินดู นั่นคือ เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ หรือ เทศกาลคเณศจตุรถี ซึ่งเชื่อกันว่าช่วงวันนี้ก็คือวันประสูติของ พระพิฆเนศ โดยเป็นวันที่พระองค์จะเสด็จลงมาประทานพรให้แก่มวลมนุษย์ จึงเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดสำหรับการบูชาท่านเพื่อให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เชื่อว่ามีอยู่หลายคนที่อยากทราบประวัติความเป็นมาของเทศกาลนี้ กระปุกดอทคอมก็มีเรื่องราวของเทศกาลคเณศจตุรถีมาฝาก พร้อมวิธีบูชาพระพิฆเนศในช่วงวันนี้เพื่อส่งเสริมให้ชีวิตยิ่งประสบความสำเร็จ

พระพิฆเนศ คืออะไร

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศ ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา ความสำเร็จ และการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งชาวฮินดูมีความเชื่อกันว่าพระพิฆเนศนั้นสามารถช่วยประทานพรให้ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ความรัก สุขภาพ และการทำงาน และพระองค์ยังเป็นเทพประทับในไพ่เทวะมันตรา พยากรณ์ ซึ่งเป็นไพ่พยากรณ์ที่จะสามารถเปิดโลกพลังพิเศษแห่งดวงตาที่สาม จึงทำให้รับรู้ได้โดยสัญชาตญาณ และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อปลดล็อกความรู้สึกภายในเพื่อเป็นการเปิดรับแต่สิ่งดี ๆ ให้สำหรับผู้ที่ได้รับการทำนายครับ

เทศกาลเทศกาลไหว้พระพิฆเนศ หรือ คเณศจตุรถี คืออะไร

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

คเณศจตุรถี ก็คือ พิธีสักการะพระคเณศ โดยทำการยึดถือเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระองค์ จตุรถี นั้นแปลว่า ลำดับที่ 4 ซึ่งจะหมายถึงวันขึ้น 4 ค่ำในเดือนภัทรบท หรือวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตรงตามปฏิทินฮินดู ซึ่งจะอยู่ในช่วงราว ๆ กลางเดือนสิงหาคม และกันยายนของทุก ๆ ปี นั่นเองครับ

โดยในพิธีนี้จะมีการปั้นเทวรูปพระคเณศขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติอย่างเช่นดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ หลังจากนั้นจะสร้างเป็นมณฑปขึ้นมาเพื่อประดิษฐานเทวรูปดังกล่าว และทำการเชิญพราหมณ์มาทำพิธี “ปราณประติษฐา” หรือก็คือการทำให้เทวรูปนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาครับ หลังจากนั้นก็จะทำการบูชา 16 ขั้นตอน ตามหลักศาสนาที่เรียกกันว่า โษทโศปจาร อย่างเช่น การสรงด้วยนม ด้วยน้ำผึ้ง หรือ การบูชาด้วยดอกไม้ และเครื่องบูชาต่าง ๆ ตามด้วยการสวดมนต์ที่เรียกว่า “คเณศาถรวศีรษะ” หรือ คเณศอุปนิษัท ซึ่งจะอยู่ในคัมภีร์พระเวท และทำการบูชาด้วยประทีป หรือการอารตี ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายครับ

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

โดยการประดิษฐานองค์พระคเณศนั้น จะเริ่มทำการประดิษฐานเอาไว้ตั้งแต่วันขึ้น 4 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ รวมเป็นเวลาจำนวนทั้งสิ้น 10 วัน และในทุก ๆ วันก็จะมีการชุมนุมกันสวดมนต์ และทำพิธีอารตีในตอนช่วงเวลาค่ำๆ เมื่อถึงวันที่ 11 ที่เรียกกันว่า พิธีวิสรชัน หรือพิธีการส่งเทพเจ้ากลับเทวโลก โดยในวันนั้นจะมีการจัดขบวนแห่เทวรูปไปตามบนท้องถนน พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรี รวมถึงการเต้นรำอย่างสนุกสนาน

โดยจะมีการร้องตะโกนเพื่อถวายพระพรแด่พระคเณศ ซึ่งการแห่เทวรูปนั้นจะทำการแห่ไปที่ทะเล หรือไปที่แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ และนำเอาเทวรูปนั้นไปลอยลงในทะเลหรือแม่น้ำ เท่ากับเป็นการส่งพระคเณศกลับยังเทวโลก ซึ่งชาวอินเดียต่างเชื่อกันว่าการที่เทวรูปนั้นสลายสู่สภาวะเดิม เป็นการแสดงถึงสภาวะของธรรมชาติ และถือว่าทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อการเพาะปลูกด้วยครับ เพราะแม่น้ำและดินจะได้รับพรจากองค์เทวรูปที่ได้ผ่านพิธีกรรมไปแล้วด้วยนั่นเอง

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

การบูชาพระพิฆเนศในเทศกาลคเณศจตุรถี

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีหลายสถานที่ที่จัดพิธีคเณศจตุรถี แต่สำหรับคนที่ไม่สะดวกเข้าร่วมพิธี ก็สามารถบูชาองค์พระพิฆเนศได้ด้วยตัวเอง โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ
  1. ทำความสะอาดหิ้งพระ และห้องบูชา เพื่อเป็นการรับเสด็จการมาของพระองค์
     
  2. จัดโต๊ะบูชาเล็ก ๆ แยกจากหิ้งพระ ปูด้วยผ้าสีแดง หรือ สีส้มแล้วอัญเชิญเทวรูปพระพิฆเนศมาประทับไว้
     
  3. อาบน้ำชำระกายให้สะอาด
     
  4. ทำการอัญเชิญเทวรูปองค์พระพิฆเนศลงมาจากหิ้งบูชา ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ปางนั่งกันมากกว่า เพราะถือว่าพระองค์จะต้องมาประทับอยู่ภายในบ้านเราถึง 10 วัน ถ้ายืนท่านคงจะเมื่อย ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวฮินดูในสมัยก่อนครับ แต่ปัจจุบันไม่ได้เคร่งครัดถึงขนาดนั้น สามารถใช้ปางไหนที่เหมาะสมก็ได้ครับ
     
  5. ให้นำเทวรูปมาสรงน้ำ จากนั้นทำการเช็ดด้วยผ้าให้สะอาด ขอแนะนำว่าเทวรูปที่จะนำมาสรงน้ำควรจะเป็นโลหะหรือหิน ไม่ควรใช้เทวรูปที่เป็นไม้ ดิน หรือเทวรูปที่เขียนด้วยสีตกแต่งด้วยเพชรพลอย หรือปิดทอง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้ครับ
     
  6. ทำการจัดเตรียมของไหว้ต่าง ๆ ให้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น ธูป กำยาน กระถางธูปหรือโถกำยาน/เทียน 2 เล่ม/ผลไม้มงคล ซึ่งขอแนะนำว่าให้เป็น กล้วย หรือ มะพร้าว/น้ำดื่มสะอาด/นม/ขนมหวาน รวมกันแล้วให้ได้ 5 ชนิดขึ้นไป จากนั้นนำเมล็ดข้าวสาร เมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ มาจัดใส่จาน
     
  7. เตรียมดอกไม้สดสวย ๆ เช่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ดอกบัว
     
  8. ถวายทุกอย่างพร้อมกัน แล้วสวดภาวนาด้วยบทมันตรา 9 จบ หรือ 108 จบ
     
  9. อธิษฐานขอพร

หมายเหตุ : การบูชานี้ควรทำติดต่อกันเป็นเวลา 3, 5, 7, 9 หรือ11 วัน ตามความสะดวก โดยในวันสุดท้ายก็ให้นำเทวรูปมาสรงน้ำอีกครั้ง ก่อนที่จะอัญเชิญขึ้นหิ้งตามเดิมครับ

เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ

คาถาไหว้พระพิฆเนศ หรือ บทมันตราบูชาพระพิฆเนศ

“โอม ศรี คเณศายา นามาฮา” (ให้สวด 9 หรือ 108 จบ ตามความสะดวก) หลังจากนั้นให้ตั้งจิตอธิษฐานขอพร แล้วจบด้วย “โอม ศานติ ศานติ ศานติ”

หลังจากที่ได้ทราบถึงความเป็นมาของ เทศกาลไหว้พระพิฆเนศ หรือ เทศกาลคเณศจตุรถี กันไปแล้ว ใครที่เคารพนับถือและบูชาพระพิฆเนศกันอยู่ อย่าลืมทำพิธีนี้ที่บ้าน ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 กันด้วนะครับ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง จะได้ทำการสิ่งใดก็จะได้สำเร็จสมความปรารถนาทุกประการครับ สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะมีเรื่องราวดีๆ อะไรมาฝากกันอีก รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Table of Contents

On Key

Related Posts